พิพิธภัณฑ์
เป็นแร่ที่มีความแข็งเท่ากับ 9 เป็นแร่ที่จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม(Corundum)
เป็นพลอยโปร่งใสถึงทึบแสง ทับทิม (Ruby)ในภาษาสันสกฤตโบราณ เรียกว่า “Ratanraj”
หมายถึงเจ้าแห่งอัญมณีทั้งปวง จัดว่าเป็นพลอยที่ค่ามาก เรียกได้ว่าเป็น
“ราชาของพลอย(King of Gem)” ชื่อ “Ruber” มาจากภาษลาติน แปลว่า “สีแดง”
ทับทิม (Ruby) มีลักษณะเด่นอยู่ที่สี ตั้งแต่สีแดงสด, สีแดงดำ, สีแดงเพลิง, สีแดงหวาน,
สีแดงชมพู, สีแดงอมส้ม ,สีแดงอมม่วง แต่สีที่นับว่าเป็นที่สุดของความงามของทับทิม (Ruby)
คือ “สีแดงเลือดนกพิราบ” คือเป็นสีแดงบริสุทธิ์ ปนสีน้ำเงินเล็กน้อย
การเลือกซื้อทับทิม (Ruby) นั้น จะต้องเลือกที่ไร้รอยแตกร้าวภายนอก และมีตำหนิภายในให้น้อยที่สุด
ควรเลือกทับทิม (Ruby) ที่มีสีเต็มทั่วทั้งเม็ด มีประกายไฟ
แหล่งที่พบมาก คือ ไทย, พม่า, กัมพูชา,
เวียดนาม, อาฟริกา, ศรีลังกา, ปากีสถาน และแทนซาเนีย และทับทิม (Ruby) ยังเป็นอัญมณีสำหรับผู้ที่เกิด
เดือน กรกฎาคม ส่วนมูลค่าในการซื้อขายทับทิมนั้น ถือว่าสูงมากกว่าพลอยชนิดอื่นๆ ยิ่งถ้าเป็นทับทิมดิบ (ไม่ได้เผา)
ราคายิ่งแพงขึ้นเป็นหลายเท่าตัว
เป็นแร่ที่มีความแข็งเท่ากับ 9 เป็นแร่ที่จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม(Corundum)
ไพลินได้รับความนิยมในหมู่คนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ไพลินจัดเป็นแร่ในประเภท (Species)
คอรันดัม (Corundum) เช่นเดียวกับทับทิม (Ruby) ซึ่งพลอยคอรันดัมนี้เป็นพลอยที่มีความแข็งรองลงมาจากเพชร
จึงทำให้ไพลิน เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปทำเครื่องประดับ ปัจจุบันหากพูดถึงแซฟไฟร์ "Sapphire" คำเดียวจะหมายถึง
Blue Sapphire หรือ ไพลิน เพราะ Sapphire มาจากภาษาเปอร์เชีย "Saffir" หรือ จาก ภาษากรีก
"Sappheiros"แปลว่า ผู้เป็นที่รักของ Saturn (เทพเจ้าแห่งกรีก) และหมายถึงสีน้ำเงิน "Blue" ซึ่งสมัยโบราณ
จะเรียกพลอยคอรันดัมที่มีสีน้ำเงินว่าแซฟไฟร์ ในประเทศไทย เดิมจะเรียกพลอยไพลินว่า นิลกาฬ
ในปัจจุบันไพลินส่วนใหญ่มักผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนหรือที่เราเรียกกันว่าการเผา
แต่ก็ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปในตลาดพลอย เพราะการเผาจะทำให้สีดีของไพลินดีขึ้นและอยู่คงทนถาวร
ไพลิน ตามชื่อของแหล่งกำเนิดจากเหมืองพลอย ในจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา ที่ในช่วงหนึ่งมีการนำเข้า
มาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก แร่ไพลินคุณภาพสูงส่วนใหญ่จะมาจาก มาดากัสการ์, ศรีลังกา, ออสเตรเลีย,
สหรัฐอเมริกา และประเทศไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี และจันทบุรี
เป็นแร่ที่มีความแข็งเท่ากับ 9 เป็นแร่ที่จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม(Corundum)
เป็นพลอยโปร่งใสถึงทึบแสง ทับทิม (Ruby)ในภาษาสันสกฤตโบราณ เรียกว่า “Ratanraj”
หมายถึงเจ้าแห่งอัญมณีทั้งปวง จัดว่าเป็นพลอยที่ค่ามาก เรียกได้ว่าเป็น
“ราชาของพลอย(King of Gem)” ชื่อ “Ruber” มาจากภาษลาติน แปลว่า “สีแดง”
ทับทิม (Ruby) มีลักษณะเด่นอยู่ที่สี ตั้งแต่สีแดงสด, สีแดงดำ, สีแดงเพลิง, สีแดงหวาน,
สีแดงชมพู, สีแดงอมส้ม ,สีแดงอมม่วง แต่สีที่นับว่าเป็นที่สุดของความงามของทับทิม (Ruby)
คือ “สีแดงเลือดนกพิราบ” คือเป็นสีแดงบริสุทธิ์ ปนสีน้ำเงินเล็กน้อย
การเลือกซื้อทับทิม (Ruby) นั้น จะต้องเลือกที่ไร้รอยแตกร้าวภายนอก และมีตำหนิภายในให้น้อยที่สุด
ควรเลือกทับทิม (Ruby) ที่มีสีเต็มทั่วทั้งเม็ด มีประกายไฟ
แหล่งที่พบมาก คือ ไทย, พม่า, กัมพูชา,
เวียดนาม, อาฟริกา, ศรีลังกา, ปากีสถาน และแทนซาเนีย และทับทิม (Ruby) ยังเป็นอัญมณีสำหรับผู้ที่เกิด
เดือน กรกฎาคม ส่วนมูลค่าในการซื้อขายทับทิมนั้น ถือว่าสูงมากกว่าพลอยชนิดอื่นๆ ยิ่งถ้าเป็นทับทิมดิบ (ไม่ได้เผา)
ราคายิ่งแพงขึ้นเป็นหลายเท่าตัว
อเมทิสต์ (Amethyst) มาจากภาษากรีก “Amathystos” แปลว่า ไม่มึนเมา เป็นแร่ชนิดหนึ่ง
มีลักษณะเป็นผลึกเดี่ยว (Crystalline Varieties) ที่มีความแข็งเท่ากับ 7 อยู่ในประเภทควอตซ์
(Quartz Species) มีองค์ประกอบทางเคมี คือ SiO2 สีม่วงเกิดจากธาตุเหล็ก (Fe) ที่เป็นธาตุร่องรอย
(Trace elements) ในโครงสร้างผลึก มีสีตั้งแต่ม่วงอ่อนไปจนถึงม่วงเข้ม หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันอีกอย่างว่า
“พลอยม่วง ดอกตะแบก” อเมทิสต์ที่มีความใสสะอาดนิยมนำมาเจียระไนแบบต่างๆ ส่วนแอเมทิสต์ที่มีลักษณะขุ่น
มีความใสน้อยหรือค่อนข้างทึบแสงนิยมนำมาแกะสลัก ซึ่งวิธีการเลือกซื้ออเมทิสต์ (Amethyst) นั้น
ให้พิจารณาจากคุณภาพของสีเป็นอันดับแรก เนื่องจากสีของอเมทิสต์(Amethyst)
ที่มีคุณภาพดีที่สุดนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มสด ในส่วนที่สองให้พิจารณาจากคุณภาพของความสม่ำเสมอของสี
ว่ามีคุณภาพสีที่เท่ากันทั่วทั้งเม็ดหรือไม่ ในส่วนที่สามให้พิจารณาจากคุณภาพความสะอาด
และส่วนสุดท้ายให้พิจารณาจากรูปทรงลักษณะว่ามีความสมส่วนหรือไม่ อีกทั้งอเมทิสต์(Amethyst)
ยังเป็นอัญมณีของผู้ที่เกิดในเดือนกุมภาพันธ์
แหล่งที่พบมาก คือ ประเทศบราซิล, มาร์ดากัสการ์, แซมเบีย, อุรุกวัย, พม่า, อินเดีย, แคนาดา,
แมกซิโก, นามีเบีย, รัสเซีย, ศรีลังกา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
เป็นพลอยในตระกูลโกเมน (Garnet) มีลักษณะโปร่งใสสีส้มอมเหลือง ถึงส้มอมแดง
จะต้องมีสีส้มติดเสมอ สเปสซาไทท์ เป็นพลอยที่มีธาตุอะลูมิเนียม (Aluminium)
เป็นส่วนประกอบ ความแข็งอยู่ที่ 7 -7.5 ชื่อทางการค้าคือ แมนดารินการ์เน็ต (Mandarin Garnet )
แหล่งกำเนิดที่คุณภาพดีมาจาก ศรีลังกา แคลิฟอร์เนีย เนวาดา ในสหรัฐอเมริกา บราซิล และมาดากาสก้า
ความเชื่อเกี่่ยวกับพลอยตระกูลโกเมน เป็นพลอยประจำเดือนเกิด มกราคม ความเชื่อด้านสุขภาพ
ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคความดันโลหิต
โดยสเปสซาร์ไทต์การ์เน็ตที่พบในตลาดจันท์ส่วนใหญ่ มีน้ำหนักระหว่าง 1 ถึง 5 กะรัต เจียระไนหลายรูปแบบ
นิยมเจียระไนแบบเหลี่ยมเพชรก้นชั้น ซึ่งสีส้มจะมีราคาสูงกว่าสีแดงดำ สเปสซาร์ไทต์สีส้มที่ได้รับความนิยมเรียกว่า
"สีแฟนต้า" ซึงมาจากสีของน้ำอัดลมแฟนต้านั้นเอง
เป็นแร่กลุ่มใหญ่ที่มีองค์ประกอบเป็นโบรอนซิลิเกต(boron silicate) ที่อยู่ร่วมกับธาตุต่างๆ
เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมกนีเซียม โซเดียม ลิเธียม หรือโพแทสเซียม โดยมีโครงสร้างและ
คุณสมบัติทางกายภาพที่ใกล้เคียงกัน เมื่อธาตุที่เป็นองค์ประกอบเปลี่ยน สีของมันก็จะเปลี่ยน
ซึ่งทัวร์มาลีนมีระดับความแข็งอยู่ที่ 7 – 7.5 โมส์
ทัวร์มาลีนจัดเป็นอัญมณี และเป็นอัญมณีที่มีหลายสี รวมถึงชิ้นที่มีสีสันต์สวยงาม โครงสร้างสะอาด
และเป็นระเบียบ จะมีราคาที่สูงมากทีเดียว ซึ่งมีระดับความแข็งอยู่ที่ 7 – 7.5 โมส์
โดยปกติแล้วทัวร์มาลีนที่อุดมด้วยธาตุเหล็กมีสีดำถึงน้ำตาลเข้ม ขณะที่ถ้ามีธาตุแมกนีเซียมจะทำให้มีสีน้ำตาล
ถึงสีเหลือง และทัวร์มาลีนที่มีธาตุลิเธียม จะมีสีเกือบทุกสี ได้แก่ สีฟ้า สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีชมพู ฯลฯ
ไม่ค่อยบ่อยนัก ที่จะพบแบบไม่มีสี ชื่อทัวร์มาลีนเป็นภาษาภาษาสิงหล มาจากคำว่า "Thoramalli"
ซึ่งใช้กับกลุ่มอัญมณีที่พบในศรีลังกา ที่แปลว่า "หินที่มีหลากสีปนกัน"
อะควอมารีน ของขวัญจากทะเล อะควอมารีน (Aquamarine) อัญมณีสีฟ้าใสนี้อยู่ในตระกูลเบริล
(Beryl) ตระกูลเดียวกันกับมรกตจึงมีความแข็ง 7.5 โมส์ และมีความวาวแบบแก้วเช่นเดียวกัน
คำว่า “Aquamarine” นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า น้ำทะเลซึ่งเป็นสีของอัญมณีชนิดนี้นั่นเอง
สีของอะควอมารีนซึ่งเกิดจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ มีตั้งแต่สีฟ้าอมเขียวไปจนถึงสีเขียวอมฟ้า
แต่สีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สีฟ้าที่ไม่มีสีเขียวปนอยู่เลยหรือสีน้ำทะเลซึ่งเป็นสีที่หายาก
พลอยอะคัวมารีน(Aquarmarine) เป็นพลอยผลึกก้อนใหญ่ค่อนข้างสะอาด ถ้าเทียบกับมรกต (Emerald)
ซึ่งทั้งสองเป็นพลอยอยู่ในประเภทของเบอริล (Berly) ด้วยกัน พลอยมรกตจะมีผลึกเล็กกว่าและมีตำหนิมากกว่า
สีของอะคัวมารีน คือ สีฟ้า ฟ้าโทนอ่อนๆ จนถึงสีกลาง สีมาจากธาตุเหล็กลักษณะโดยทั่วไปจึงโปร่งใสถึงโปร่งแสง
ดัชนีหักเหที่ 1.57-1.60 ความถ่วงจำเพาะ 2.67-2.84 ตำหนิภายในที่พบจะมีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายรอยนิ้วมือ
หรือเป็นเส้นเข็มกลวงคล้ายท่อขนานกัน
พลอยอะคัวมารีน(Aquarmarine) เป็นพลอยประจำเดือนเกิดมีนาคม ทางด้านการบำบัดรักษา
อะความารีนมีพลังช่วยบรรเทาการเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อนได้ด้ วย ด้วยสีฟ้าใสที่เย็นตาของอะควอมารีน
จึงเป็นอัญมณีที่ดึงดูดใจหญิงสาวทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นอัญมณีที่บรรดานักออกแบบชื่นชอบและเลือกนำไปทำ
เป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย
คำว่า “SPINEL” มาจากภาษาละตินว่า “spina” หมายถึง หนาม บางแห่งกล่าวว่ามาจากภาษากรีก
ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “spark” หมายถึง สีแดงเหมือนเปลวเพลิง สปิเนล มีองค์ประกอบทางเคมี
เป็นแมกนีเซียมอะลูมิเนียมออกไซด์ มีสีแดง ชมพู น้ำเงิน ฟ้า ม่วง เหลือง ใสไร้สี น้ำตาล และดำ
สปิเนล จัดเป็นพลอยเนื้ออ่อน ซึ่งมีความแข็งเท่ากับ 8
เริ่มมีการทำเหมือง สปิเนล ครั้งแรกในพม่า สปิเนลชนิดสีแดง เป็น สปิเนล ที่มีค่าสูงที่สุดในบรรดาสีต่าง ๆ
ทั้งหมด และมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทับทิม เช่น ทับทิมแบล็กพรินซ์(Black Prince’s Ruby)
สีแดง น้ำหนักกว่า 140 กะรัต ซึ่งประดับอยู่บนมงกุฎ “The Imperial State Crown”
ของราชวงศ์อังกฤษ เก็บรักษาที่ Tower of London ซึ่งภายหลังพิสูจน์ได้ว่าเป็น สปิเนลสีแดง ไม่ใช่ทับทิม
แหล่ง สปิเนล ที่สำคัญ ได้แก่ พม่า ศรีลังกา มาดากัสการ์ แทนซาเนีย เวียดนาม ไทย กัมพูชา
รัสเซีย และอัฟกานิสถาน เป็นต้น ในประเทศไทย มักพบ สปิเนลสีดำที่เรียกว่า "นิล"
เกิดร่วมกันกับพลอยประเภทคอรันดัมที่จังหวัดกาญจนบุรี
ซาโวไรท์การ์เนต (Tsavorite Garnet) หรือ กรีนการ์เนต (Green Garnet) หรือโกเมนเขียว
ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1967 ที่ชายแดนระหว่าง
ประเทศเคนยาและประเทศแทนซาเนีย ซาโวไรท์ (Tsavorite) ตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดพลอยดิบ
ที่อุทยานแห่งชาติซาโว (Tsavo) ในประเทศเคนยา พลอยดิบของซาโวไรท์การ์เนตพบใน 2 ประเทศ
เท่านั้น คือเคนยาและแทนซาเนีย สีของซาโวไรท์การ์เนต มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนไปจนถึงสีเขียวเข้มจัด
และมีสีเขียวซึ่งสดใสคล้ายมรกตมาก แต่มีเนื้อพลอยที่สะอาดมากกว่ามรกตทำให้ซาโวไรท์การ์เนต
เป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดทั่วโลก
ซาโวไรท์การ์เนต (Tsavorite Garnet) หรือ กรีนการ์เนต (Green Garnet)ได้ชื่อว่าเป็นอัญมณี
ที่มีราคาแพงที่สุดในตระกูล Garnet เชื่อกันว่าโกเมนสีเขียว หรือซาโวไรท์นี้เป็นอัญมณีแห่งมิตรภาพ
ความเป็นมิตร ผู้ใดที่ได้ครอบครองจะเป็นผู้ที่มีความคิดในทางที่ดี
แหล่งกำเนิดควอตซ์ จะมีมากที่สุดในบราซิล การกำเนิดของควอทซ์มักเกิดในรูปของ จีโอด
(Geode) คือผลึกที่ตรงส่วนกลางเป็นโพรง ข้างๆโดยรอบมีผลึกของควอทซ์ติดอยู่ จีโอดจะอยู่
ในรูปทรงต่างๆที่ไม่เหมือนกัน มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ควอตซ์จัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.พวกที่มีผลึกหยาบสีต่างๆ (Crystalline varieties) ควอตซ์สีม่วงหรืออัญมณีสีดอกตะแบก
หรือเขี้ยวหนุมานสีดอกตะแบบ (Amethyst) เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากและค่อนข้างหายาก
สีที่ดีที่สุดคือ สีม่วงอ่อนที่เรียกว่า Rose De France และสีม่วงแดง-ม่วงเข้ม เรียกว่า Siberian
มีลักษณะโปร่งใสถึงโปร่งแสง สีของควอตซ์ชนิดนี้ถูกทำให้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียวได้
และสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ด้วย สำหรับควอตซ์สีม่วงที่มีสีเหลืองปนสวยงาม
เรียกว่าแอเมทริน (Ametrine) ซึ่งตามธรรมชาติ หาได้ยากมาก แต่ก็สารมารถทำให้
เกิดสีดังกล่าวได้ในควอตซ์ธรรมชาติ และสามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน
2.พวกที่มีผลึกเล็กละเอียด เนื้อเนียนละเอียด สีต่างๆ (Cryptocrystalline Varieties)
คาลซิโดนี (Chalcedony) มีสีต่างๆ มากมาย มีความวาวคล้ายขี้ผึ้ง ความโปร่งพอประมาณ
มีมากมายหลายชนิดที่มีลักษณะสี ความสวยงามแตกต่างกันไป เช่น คาร์เนเลียน (Carnelian)
มีสีแดงเข้ม – แดงส้ม ซาร์ด (Sard) มีสีแดงแกมน้ำตาลเป็นต้น
เตาไฟฟ้า
เตาแก็ส
เตาน้ำมัน
พลอยที่เผาแล้ว
พลอยที่เผาแล้ว
1. การขึ้นรูป(โกน) นำพลอยที่เผาแล้วหรือพลอยดิบที่ขุดได้มาตกแต่งขึ้นรูปร่างตามลักษณะสภาพของก้อนพลอย เช่น รูปหัวใจ รูปมาคี รูปเหลี่ยมต่างๆ กลมไข่ กลม ฯลฯ โดยใช้หินเพชรหมุนด้วยพลังไฟฟ้าช่วยในการตกแต่ง เรียกว่า ” การโกนพลอย ”
2. การแต่งพลอย การนำพลอยที่โกนเรียบร้อยแล้ว มาติดที่ไม้(ทวน) โดยที่ปลายทวนมีครั่งเป็นตัวเชื่อมให้พลอยติดกับทวน (นำพลอยมาลนไฟให้ร้อนมาแตะที่ครั่ง เมื่อเย็นจะติดแน่น) นำพลอยไปแต่งด้วยหินเพชรเบอร์ละเอียด หมุนด้วยมือ เพื่อให้พลอยเกิดเหลี่ยมมุม เพื่อให้รูปร่างชัดเจนขึ้น แล้วนำไปเจียระไนต่อไป
3. การเจียระไน นำพลอยที่แต่งเรียบร้อยแล้วไปเจียร ที่จักรสำหรับเจียระไน ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้าพื้นหน้าเซาะเป็นร่อง เรียกว่าฟันจักร มีน้ำยาผสมด้วยเพชรป่นละเอียดกับน้ำมันมะพร้าว เป็นตัวช่วยให้พลอยเกิดเหลี่ยม และเงางาม พร้อมที่นำไปประดิษฐ์เข้ารูปเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ
เหลี่ยมการเจียระไนพลอยแบบต่างๆ (ในปัจจุบันอาจมีการคิดค้นแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก)
บริการด้านความรู้เรื่องอัญมณี การเลือกซื้ออัญมณี การจำหน่ายอัญมณีและจิวเวลรี่ http://www.cga.or.th / 096 934 0964 / cga.chan2545@gmail.com